เชื่อว่าหลายท่านคงมีความเข้าใจว่า ถ้าจะต่อเติมขยายส่วนของบ้านออกไป แค่ตอกเสาเข็มลงไปก็สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้แล้ว แต่ท่านเข้าใจอย่างถูกต้องหรือไม่ถึงความลึก ชนิดของเสาที่ใช้และขั้นตอนการตอกลงไป บางทีก็ถามเพื่อน หรือถามช่าง แต่คำตอบที่ได้ถูกต้องหรือเปล่า??!!! มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมกันเถอะ
ทำความเข้าใจถึงชั้นดินกันก่อน
ดินมีหลายชั้น แต่แบ่งใหญ่ๆได้ 2 ชั้น คือชั้นดินอ่อน และชั้นดินแข็ง เสาเข็มของบ้านและอาคารมีความสำคัญมากๆ บ้านจะอยู่คงทนหรือไม่ขึ้นอยู่กับเสาเข็ม เสาเข็มจะต้องถูกตอกลงไปถึงชั้นดินแข็ง ซึ่งความลึกของชั้นดินแข็งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแต่ละพื้นที่ ถ้าอยู่ใกล้ภูเขาชั้นดินแข็งก็อยู่ไม่ลึกมาก แต่กลับกัน ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำก็อาจอยู่ลึกลงไปอีกเพราะเป็นดินอ่อน ถ้าเป็นกรุงเทพฯ ปริมณฑล ความลึกจะอยู่ระหว่าง 17-23 เมตร
ขอขอบคุณภาพจาก SCG Experience Writer
การทำงานของเสาเข็มคือช่วยรับน้ำหนักของตัวบ้านและอาคาร จะมีการรับน้ำหนักอยู่ 2 ส่วน
1. ส่วนรอบๆเสาเข็ม คือ ดินที่หุ้มเสาเข็มอยู่จะมีแรงเสียดทานอยู่รอบๆเสา จะช่วยหนีบและอัดเสาให้แน่นอยู่กับที่และแข็งแรง แต่โอกาศที่จะทรุดตัวก็ยังมี จึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวรับน้ำหนักอีกหนึ่งชั้นคือชั้นดินแข็งส่วนล่างเสาเข็ม
2. ส่วนล่างเสาเข็ม คือชั้นดินแข็งที่รองรับน้ำหนักโดยตรง เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ นี่คือเหตุผลที่ทำไมต้องตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับนี้
ขอขอบคุณภาพจาก SCG Experience Writer
พอท่านทราบถึงการทำงานของเสาเข็มและชั้นดินแล้ว เราจะนำมาใช้ในงานก่อสร้างของเรายังไง
สรุปให้ท่านเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ให้ท่านตอกเสาเข็มลงไปให้ถึงชั้นดินแข็ง 17-23 เมตร การลงเสาเข็มเช่นนี้ บ้านหรือส่วนต่อเติมของท่านจะอยู่คงทนไม่มีทรุด เป็นการทำครั้งเดียวแต่ใช้ได้อีกนานไม่ต้องกังวลว่าจะต้องมาซ่อมภายหลัง
ขอขอบคุณภาพจาก คนทำบ้าน
บางท่านเชื่อว่าการใช้เสาหกเหลี่ยมตอกโดยใช้คนขย่มลงไปหรือปั่นจั่นสามขา ตอกลงไปที่ความลึก 10 เมตรกว่าๆ (เสา3เมตร3ต้น) ก็พอแล้วสำหรับการต่อเติมครัวหรือห้องอื่นๆ ขอแจ้งว่าวิธีใช้คนขย่มลงไปนั้นไม่ไช่วิธีที่ถูกต้องเลย เพราะว่า การลงเสาเข็มนั้นข้อสำคัญข้อหนึ่งคือจะต้องตอกลงไปให้ได้ดิ่ง90องศา แต่โดยทั่วไปช่างจะใช้วิธีขุดดินลงไปก่อนและขย่มเสาลงไป การขุดดินไม่ถูกต้องเนื่องจากทำให้ค่าแรงเสียดทานรอบๆเสาหายไป บวกกับการขย่มลงไปโดยไม่ได้เช็คระยะแนวดิ่ง90องศา ทำให้เกิดค่าระยะหนีศูนย์ รวมกับความลึกของหลุมก็ไม่ถึงระดับชั้นดินแข็ง ด้วยประเด็นเหล่านี้จึงไม่แปลกเลยที่เจ้าของบ้านที่ต่อเติมลักษณะเช่นนี้ เพียงไม่กี่ปีก็จะเกิดรอยร้าวขึ้นบริเวณแนวต่ออาคาร การใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมและใช้คนขย่มลงไปนั้น เหมาะกับการทำเสาเข็มรองรับแท็งน้ำ รองรับพื้นเทที่ต้องรับน้ำหนักหรือกำแพงบ้านมากกว่าใช้เป็นเสาเข็มรับน้ำหนักอาคาร
ขอขอบคุณภาพจาก หจก.บีทีซี ไวร์เมช
รอยต่ออาคารกับส่วนต่อเติมก็สำคัญ ควรแยกให้เป็นอิสระต่อกันและมีแผ่นโฟมกั้นรอยต่อเอาไว้เพื่อไม่ให้ 2 ส่วนยึดติดกัน และยาด้วยซิลิโคนอะคลิลิคแล้วทาสีทับ ทำไมถึงควรทำ ด้วยเหตุผลว่าสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้สร้างพร้อมกันย่อมแตกต่างกันด้วยโครงสร้างและวัสดุที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดปัญหากับโครงสร้างด้านไดด้านหนึ่งไม่ควรจะดึงกันเนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งคู่
ขอขอบคุณภาพจาก SCG Experience Writer
หากท่านต้องการให้ส่วนต่อเติมบ้านหรืออาคารของท่านที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวอาคารแข็งแรงควรเลือกการลงเสาเข็มแบบ "ไมโครไพล์"
ขอขอบคุณภาพจาก Siam Engineer
เสาเข็มตอก ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ (Micro Pile) ที่ต้องใช้ปั่นจั่นตอกลงไปให้ลึกถึงระดับชั้นดินแข็ง(ราคาอยู่ประมาณ หลุมละ 15,000-17,000) ใช้ในกรณีพื้นที่กว้าง ที่แรงสั่นสะเทือนไม่กระทบกับพื้นที่ข้างเคียง
เสาเข็มเจาะ เป็นการเจาะลงไปใต้พื้นดิน
และเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะ ให้ขึ้นรูปเป็นเสาเข็ม เมื่อปูนก่อตัวแห้ง จึงมีหน้าที่แบกรับนํ้าหนักที่เป็นฐานรากของอาคารซึ่งขนาดและจำนวนแล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อม ใช้ในกรณีที่พื้นที่แคบและไม่ต้องการให้เกิดผลเสียต่อพื้นที่ข้างเคียง(กฎหมายบังคับ) เหมาะสำหรับ บ้านจัดสรร และแหล่งชุมชน
ขอขอบคุณภาพจาก CENTERPILETHAILAND
เมื่อได้เสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงทำฐานรากและคานคอดินต่อไป (รายละเอียดจะอธิบายในตอนต่อไป)
==========================================================
เมื่อท่านทราบถึงหลักทางวิศวกรรมเช่นนี้แล้วท่านก็คงจะพอทราบถึงแนวทาง ที่ท่านจะประเมินได้ว่าควรจะตกแต่งต่อเติมบ้านท่านแบบไหนให้บ้านอยู่กับท่านนานๆ บางทีเสียเงินครั้งเดียวแต่จบดีกว่าเสียน้อยแต่ต้องมาตามแก้ภายหลังและจบยากบานปลาย หากท่านมีข้อสงสัยเชิญปรึกษาเพิ่มเติมได้
ที่ http://www.facebook.com/thaimawee/ เรายินดีตอบทุกคำถามครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น